TDGA306 หลักสูตรเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล

TDGA306 : หลักสูตรเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics Techniques)

หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากการที่สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากรได้สมัครเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกับสถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (Thailand Digital Government Academic : TDGA) ในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ ซึ่งได้เข้าร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือทั้ง 4 ด้านได้แก่ด้านการจัดฝึกอบรม ด้านการพัฒนาหลักสูตร (ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ของภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เข้าไปร่วมในการพัฒนาหลักสูตรกลางเพื่อยกระดับทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากรภาครัฐ) ด้านระบบการเรียนรู้ออนไลน์ และด้านการสนับสนุนทรัพยากร ทั้งนี้เพื่อให้เป็นการบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลการภาครัฐ สำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากรจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมสำหรับงานด้านข้อมูลได้
  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมนำเข้าข้อมูลในฐานข้อมูลได้ เพื่อสร้างคลังข้อมูลที่เหมาะสมได้
  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสำรวจและจัดเตรียมข้อมูลได้
  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เหมาะสมและเข้าใจง่าย
  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างโมเดลการทำนายโดยใช้เครื่องมือหรือเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่ได้

เป้าหมาย : ข้าราชการ และบุคลากรภาครัฐทุกระดับ จำนวน 30 คน

ระยะเวลา : จำนวน 6 วัน แบ่งเป็น 3 ครั้ง เวลา 09.00-16.00 น.

รูปแบบการอบรม Online

  • ครั้งที่ 1 วันที่ 30-31 พฤษภาคม 2566
  • ครั้งที่ 2 วันที่ 6-7 มิถุนายน 2566
  • ครั้งที่ 3 วันที่ 13-14 มิถุนายน 2566

วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวรรณ เชาวลิต, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐโชติ พรหมฤทธิ์

ค่าธรรมเนียมการฝึกอบรมของหลักสูตร

  • ค่าลงทะเบียนฝึกอบรมแบบ Online ท่านละ 14,500 บาท
  • หมายเหตุ
    – ราคาพิเศษสำหรับผู้เข้าสมัครอบรมที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยศิลปากรลดลง10% จากราคาปกติต่อคน ต่อหลักสูตร
    – ราคาพิเศษสำหรับผู้รวมกันสมัครเป็นกลุ่มตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปราคาสมัครลดลง 10% จากราคาปกติต่อคน ต่อหลักสูตร

**หลักสูตรได้การรับรองโดยสถาบัน TDGA**

เงื่อนไขการผ่านการอบรมและได้รับประกาศนียบัตร

  1. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องทดสอบประเมินความรู้ภาคทฤษฎีด้วยแบบประเมินผลก่อนการฝึกอบรม (Pre-Test)
  2. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องทดสอบประเมินความรู้ภาคทฤษฎีด้วยแบบประเมินผลหลังการฝึกอบรม (Post-Test) เกณฑ์การผ่านไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
  3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเข้าร่วมการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของระยะเวลาฝึกอบรม